เกร็ดความรู้จากละคร WataDou ตอนที่ 2

สำนวนน่าสนใจที่ปรากฏในตอนที่ 2

自業自得(じごうじとく:Jigou Jitoku) แปลว่า สิ่งไม่ดีที่ตัวเองทำ ตัวเองก็ต้องยอมรับผลนั้น ในภาษาไทยจึงแปลว่า “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นคืนสนอง” เป็นตอนที่สึบากิมาตามนาโอะที่ร้านชิราฟุจิ แล้วรู้ว่านาโอะโกหกว่ามีออเดอร์จากร้านนี้

ขนมญี่ปุ่น (วากาชิ)

“ชิราฟุจิ” ขนมที่ร้านกิโมโนชิราฟุจิยะสั่งกับร้านโคเก็ทสึอัน ซึ่งทั้งสองร้านมีความสัมพันธ์มายาวนาน เป็นขนมรูปดอกฟูจิ (ดอกวิสทีเรีย) หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลาน ซึ่งหัวใจของร้านชิราฟุจิ คือ การปกป้องร้านโดยครอบครัว รูปร่างของขนมเป็นเหมือนชุดกิโมโน

“โคเก็ทสึอัน โมนากะ” ขนมสอดไส้ถั่วแดง แป้งข้างนอกทำจากข้าวเหนียวที่นำมาอบบางๆ ขนมนี้เป็นขนมที่สึบากิสอนนาโอะทำถั่วแดง เพื่อเรียกความเชื่อใจคืนจากร้านชิราฟุจิ

“เต่าและนกกระเรียน” เป็นขนมที่พวกพนักงานช่วยกันทำ เพื่อใช้ในงานขอพรที่ศาลเจ้า

นิทานเด็ก

ชื่อเรื่อง 3 Piki Yaki no Garagaradon (さんびきやぎのがらがらどん) หรือ “Three Billy Goats Gruff” ต้นฉบับเป็นนิทานนอร์เวย์
เรื่องราวเกี่ยวกับแพะ 3 ตัว ตัวเล็ก ตัวกลาง ตัวใหญ่ เดินข้ามสะพานแคบๆไปทีละตัวเพื่อไปกินหญ้าอร่อยๆอีกฝั่ง แต่ก็เจอปีศาจที่จะกินพวกแพะ แพะตัวเล็กบอกให้รอกินแพะตัวกลาง แพะตัวกลางบอกให้รอกินแพะตัวใหญ่ และในที่สุด แพะตัวใหญ่ก็ใช้ความแข็งแกร่งของตัวเองสู้กับปีศาจ และได้ข้ามฝั่งไปกินหญ้ากับแพะอีก 2 ตัว
ฟังนิทาน (ภาษาญี่ปุ่น มีซับญี่ปุ่น)

บทเพลงการละเล่นพื้นบ้านของเด็กญี่ปุ่น

เพลง Touryanse เป็นเพลงที่เด็กๆร้องในการละเล่นรีรีข้าวสาร
通りゃんせ 通りゃんせ เดินผ่านไปสิ เดินผ่านไปสิ
ここはどこの 細通じゃ ที่นี่เป็นทางแคบๆของที่ไหน
天神さまの 細道じゃ เป็นทางของท่านเท็นจินไง
ちっと通して 下しゃんせ ขอฉันผ่านไปหน่อยได้หรือไม่
御用のないもの 通しゃせぬ คนที่ไม่มีธุระ ก็ผ่านไม่ได้หรอกนะ

この子の七つの お祝いに ฉันจะไปงานฉลองอายุ 7 ขวบของเด็กคนนี้
お札を納めに まいります ฉันจะมาชำระค่าผ่านทางให้
行きはよいよい 帰りはこわい จะไปน่ะง่าย แต่ขากลับน่ากลัวนะ
こわいながらも ถึงจะน่ากลัว
通りゃんせ 通りゃんせ แต่ก็ขอผ่านไปนะ ขอผ่านไป
ฟังเพลงตัวอย่าง

ที่มาภาพขนม https://www.ntv.co.jp/watadou/wagashi/