เกร็ดความรู้จากละคร WataDou ตอนที่ 4

ประโยคที่มีความหมายแฝง

ไม่มีคำอธิบาย

お茶をお取り換えしましょうか “ให้ฉันเปลี่ยนชาให้มั้ยคะ” ความหมายจริงๆคือ “อยากให้กลับไปได้แล้ว” ในบางจังหวัดของญี่ปุ่น เช่น เกียวโต อิชิกาวะ (ย่านเมืองเก่า) หากพูดประโยคปกติธรรมดา อาจจะกลายเป็นการเสียมารยาทต่อแขกไปได้ เพราะโดยพื้นฐานแล้วคนญี่ปุ่นมักจะพูดอ้อมค้อม พูดแล้วต้องตีความหลายครั้งว่าจุดประสงค์แท้จริงคืออะไร

นอกจากนี้ยังมีประโยคอื่นๆอีก เช่น
-ลูกเล่นเปียโนเก่งจังนะคะ = หนวกหู!
-ถึงจะเป็นหน้าร้อน แต่ที่นี่ก็ไม่ต้องเปิดแอร์เลยนะคะ = บ้านเธอนี่บ้านนอกจริงๆนะ
(ส่วนตัวแล้วเคยมีคนญี่ปุ่นพูดด้วยรอยยิ้มเสแสร้ง แล้วพูดว่า “พวกนั้นเค้าร่าเริงกันดีจังนะ” เราก็พอจะตีความได้ว่า “พวกนั้นเสียงดังเอะอะโวยวายกันจังเลยนะ”)

ขนมญี่ปุ่น (วากาชิ)

ขนมที่ทำขึ้นเพื่อขายในงานเทศกาลทานาบาตะห้างโอโตวะ
ขนมขึ้นชื่อของร้าน “ชิมายะ” บ้านของโจจิม่า เป็นวาราบิโมจิที่เด้งดึ๋งๆ ยืดๆ เยิ้มๆ ที่นาโอะได้กลับมาทำอีกครั้ง ในครั้งนี้ได้ใส่วาราบิโมจิลงในแป้งโมนากะรูปดาวสุดน่ารัก เพื่อวางในงานเทศกาลทานาบาตะด้วย

ขนมใบไผ่ที่นายหญิงสั่งให้โทมิโอกะทำ เพราะไม่ต้องการให้นาโอะทำวาราบิโมจิขายในงานเทศกาลทานาบาตะ

ฮาซามิคิคุ ขนมที่สึบากิทำขายในงานเทศกาลเมื่อ 2 ปีก่อน เป็นลายดอกเบญจมาศที่มีความละเอียดอ่อนมาก

เครื่องประดับของชุดแต่งงาน

ในช่วงท้ายของตอนที่ 4 ขณะที่นาโอะกำลังลองชุดแต่งงาน ทางร้านได้แนะนำเครื่องประดับสีแดงสด เหมาะกับชุดแต่งงานสีขาว ซึ่งเครื่องประดับเหล่านั้นคือ กริซ พัด กระเป๋าใส่ของ ทำไมถึงต้องมีของเหล่านี้เป็นเครื่องประดับเจ้าสาวด้วย เชิญอ่านคำตอบด้านล่างค่ะ

ไม่มีคำอธิบาย

Kaiken (懐剣) กริช : กริชที่เจ้าสาวใช้ใส่โอบิ(ผ้ารัดกิโมโน) ซองใส่เป็นกระเป๋า ถักเชือกเป็นเปีย มีความหมายว่า “ถึงจะเป็นผู้หญิง แต่เมื่อมีเหตุจำเป็นก็ต้องปกป้องตัวเอง” เป็นประเพณีของผู้หญิงที่เกิดมาในตระกูลซามูไรที่พกกริซป้องกันตัว และใช้สืบต่อมาในพิธีแต่งงานจนถึงปัจจุบัน
Suehiro (末広) พัด : พัดเป็นสิ่งที่ส่วนปลายแผ่ขยายออก มีความหมายว่า “การมีความสุขในบั้นปลาย”
Hakoseko (筥迫) กระเป๋าใส่ของ
: เดิมเป็นเครื่องประดับที่ผู้หญิงในตระกูลซามูไรในสมัยเอโดะ ใช้ใส่กระดาษธูป* และเครื่องหอม เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ใช้ในงานแต่งงานจริงในอดีต แต่ปัจจุบันมีบทบาทเป็นเพียงเครื่องประดับ
*กระดาษธูป (懐紙 Kaishi) กระดาษรองขนมญี่ปุ่น หรือใส่เงิน เป็นซองตะเกียบ เป็นต้น มีประโยชน์ใช้สอยหลายอย่าง

เพลงการละเล่นพื้นบ้านของญี่ปุ่น

ชื่อเพลง 花いちもんめ Hanaichimonme เป็นเพลงของการละเล่นพื้นบ้านของญี่ปุ่น

วิธีเล่น : แบ่งกลุ่มเด็กเป็น 2 กลุ่ม ยืนเรียงหน้ากระดานและจับมือเพื่อนคนข้างๆไว้ ทั้ง 2 กลุ่มหันหน้าหากัน กลุ่มที่ร้องท่อนแรกก็จะเดินขึ้นมาข้างหน้า ส่วนอีกกลุ่มจะเดินถอยหลังไป ผลัดกันเดินหน้า-ถอยหลัง ร้องคนละท่อนอยู่อย่างนี้ เมื่อจบเพลง ก็จะให้เด็กที่อยู่ตรงกลางเป่ายิ้งฉุบ ถ้าฝ่ายไหนชนะ ก็จะได้เพื่อน 1 คนจากฝั่งตรงข้ามมา จนกว่าจะมีฝ่ายหนึ่งไม่มีคนเหลือ ก็จะแพ้ไป

เนื้อเพลง 花いちもんめ Hanaichimonme
ภาษาญี่ปุ่น :
1) 勝ってうれしい 花いちもんめ
2) 負けて悔しい 花いちもんめ
1) 隣のおばさん ちょっと来ておくれ
2) 鬼が怖くて行かれない
1) お布団かぶってちょっと来ておくれ
2) お布団ぼろぼろ行かれない
1) お釜かぶってちょっと来ておくれ
2) お釜底抜け行かれない
1) あの子が欲しい
2) あの子じゃわからん
1) この子が欲しい
2) この子じゃわからん
1) 相談しよう
2) そうしよう

แปลภาษาไทย :
1) ดีใจที่ชนะ ฮานะอิจิมงเมะ
2) เจ็บใจที่แพ้ ฮานะอิจิมงเมะ
1) คนที่อยู่ข้างๆคุณยาย มานี่หน่อยสิ
2) ยักษ์น่ากลัว ไปไม่ได้หรอก
1) เอาผ้าห่มคลุมหัว แล้วมาหาหน่อยสิ
2) ผ้าห่มขาดหลุดรุ่ยแล้ว ไปไม่ได้หรอก
1) เอาหม้อคลุมหัว แล้วมาหาหน่อยสิ
2) ก้นหม้อมีรู ไปไม่ได้หรอก
1) ฉันต้องการเด็กคนโน้น
2) เด็กคนโน้นไม่รู้เรื่อง
1) ฉันต้องการเด็กคนนี้
2) เด็กคนนี้ไม่รู้เรื่อง
1) มาปรึกษากันเถอะ
2) เอาสิ

วิเคราะห์เนื้อเพลง : สมัยก่อนชาวบ้านที่ยากจนจะขายเด็กให้กับคนเมืองหลวง เพื่อลดภาระค่าอาหารในบ้าน
-ในท่อน “ดีใจที่ชนะ” คือคำพ้องเสียงกับอีกประโยคที่มีความหมายว่า “ดีใจที่ได้ซื้อ” เป็นความรู้สึกของคนที่ได้ซื้อเด็ก
-ในท่อน “เจ็บใจที่แพ้” เป็นความรู้สึกของพ่อแม่ที่เสียราคา เพราะเด็กน้ำหนักตัวเบา ทำให้ได้เงินน้อย
-คำว่า “มงเมะ” เป็นหน่วยเงินของญี่ปุ่นในสมัยก่อน

ฟังเพลง
ชมวิธีการเล่นของเด็กญี่ปุ่น

ที่มาภาพขนม https://www.ntv.co.jp/watadou/wagashi/
ที่มาภาพเครื่องประดับ https://store.shopping.yahoo.co.jp/ueyama/k-006.html
ที่มาความหมายของเครื่องประดับ https://www.isize.com/zexy/dictionary/404/
ที่มาเนื้อเพลงและบทวิเคราะห์ https://www.news-postseven.com/archives/20190915_1452147.html?DETAIL