เกร็ดความรู้จากละคร WataDou ตอนที่ 8

ขนมญี่ปุ่น (วากาชิ) “สึบากิโมจิ” ขนมที่สึบากิทำในการประลองเพื่อเป็นผู้สืบทอดโคเก็ทสึอัน ในนวนิยายเก็นจิโมโนกาตาริ กล่าวกันว่าเป็นขนมที่เป็นต้นกำเนิดของขนมญี่ปุ่น เป็นใบสึบากิที่มีโดเมียวจิ(แป้งข้าวเหนียว)อยู่ตรงกลาง เป็นขนมที่เรียบง่าย รสชาติที่สึบากิทำเป็นรสชาติที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้คุณปู่คิดถึงความทรงจำเก่าๆกับลูกของตน “ฟุยุอะตาตะกะ” (ความอบอุ่นในฤดูหนาว) ขนมที่นาโอะทำในการประลองเพื่อเป็นผู้สืบทอดโคเก็ทสึอัน โดยใช้ส้มฮิเมะยูสุคว้านข้างในออก เหลือแต่ผิวบางๆ น้ำไปต้มให้นุ่ม เมื่อทานผิวส้มจะละลายในปาก และมีกลิ่นหอมที่ยาวนาน เป็นขนมที่นาโอะสัญญากับแม่ตอนเด็กว่า อยากจะทำขนมที่ยังหลงเหลือกลิ่นอยู่แม้จะทานหมดแล้ว…

เกร็ดความรู้จากละคร WataDou ตอนที่ 3

ข้อความบนป้ายอักษร ป้ายอักษร ภาษาญี่ปุ่นคือ 掛け軸 (かけじく) อ่านว่า Kakejiku รู้หรือไม่ว่า ทำไมต้องมีป้ายอักษรนี้ด้วย?ในห้องชงชาไม่เพียงแต่เป็นสถานที่สำหรับดื่มชาและขนมหวานเท่านั้น แต่ยังสามารถเพลิดเพลินกับเครื่องชงชา และบรรยากาศของสถานที่ได้อีกด้วย ศูนย์กลางของพิธีชงชา คือป้ายอักษรนี้นั่นเอง รูปแบบและคำที่เขียนบนป้ายอักษรจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานเลี้ยงน้ำชา และผู้ที่เข้าร่วมในงานเลี้ยงน้ำชาจะได้เห็นและเพลิดเพลินระหว่างดื่มชา ถือว่าป้ายอักษรนี้เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ชงชาเลยทีเดียว*บางครั้งอาจจะเป็นเพียงตัวอักษร หรือภาพวาดพร้อมตัวอักษร หรือภาพวาดอย่างเดียว 不妄語戒 (ふもうごかい…

เกร็ดความรู้จากละคร WataDou ตอนที่ 2

สำนวนน่าสนใจที่ปรากฏในตอนที่ 2 自業自得(じごうじとく:Jigou Jitoku) แปลว่า สิ่งไม่ดีที่ตัวเองทำ ตัวเองก็ต้องยอมรับผลนั้น ในภาษาไทยจึงแปลว่า “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นคืนสนอง” เป็นตอนที่สึบากิมาตามนาโอะที่ร้านชิราฟุจิ แล้วรู้ว่านาโอะโกหกว่ามีออเดอร์จากร้านนี้ ขนมญี่ปุ่น (วากาชิ) “ชิราฟุจิ” ขนมที่ร้านกิโมโนชิราฟุจิยะสั่งกับร้านโคเก็ทสึอัน ซึ่งทั้งสองร้านมีความสัมพันธ์มายาวนาน เป็นขนมรูปดอกฟูจิ (ดอกวิสทีเรีย) หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลาน…

เกร็ดความรู้จากละคร WataDou ตอนที่ 1

สำนวนสุภาษิต และกลอนที่ปรากฏ 「葉桜の 下帰り来て 魚に塩」Hazakura no shita kaeri kite sakana ni shioซากุระร่วงโรย ผู้คนกลับมาปกติ ดั่งโรยเกลือบนปลา กลอนไฮกุที่ประพันธ์โดยคุณ Ayako Hosomi ที่สึบากิหยิบยกขึ้นมาพูดกับนาโอะหลังจบการประลองทำขนม ที่นาโอะได้ทำขนมเป็นใบซากุระสีเขียว กลอนไฮกุนี้ถอดความได้ว่า…