ไขข้อสงสัย! ทำไมละครญี่ปุ่นถึงไม่มีพระเอก-นางเอก?

มีคำถามนึงที่คนถามเข้ามามาก ตอนเรื่อง Koitsuzu ประกาศรางวัลซาโต้ ทาเครุ ได้รางวัล “นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม” หลายคนงงว่า ทำไมทาเครุ ถึงเป็น “สมบท” ก็เป็นพระเอก คู่กับโมเนะจังนิ เราเลยจะมาไขข้อสงสัยว่า ทำไมสุดท้ายถึงไม่เรียกว่า บทนักแสดงนำว่าเป็น “พระเอก” “นางเอก”

ในบล็อกนี้ยกมาเป็นเพียงหัวข้อย่อยๆ และไม่เจาะจงรายละเอียดนะคะ ใครต้องการฟังข้อมูลที่ลึกกว่านี้ ดูได้ใน YouTube ของพวกเราเลย

1. ละครญี่ปุ่นมีหลากหลายแนว ไม่ใช่แนวรักอย่างเดียว

แต่มีละครเกี่ยวกับอาชีพเยอะ เช่น ละครหมอ นักสืบ ตำรวจ นักการธนาคาร ซึ่งเรื่องเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องมีพระเอก หรือนางเอกเสมอไป เราสามารถใช้คำรวมๆได้ว่า
主演 (Shuen) นักแสดงนำ , 主役 (Shuyaku) บทบาทหลัก, 主人公 (Shujinkou) ตัวเอก 
เช่น

asianwiki.com/images/7/78/Code_Blue-p2.jpg
code blue นักแสดงนำ คือ ยามาชิตะ โทโมฮิสะ
Naoki Hanzawa (2020) - AsianWiki
Hanzawa Naoki นักแสดงนำ คือ ไซไก มาซาโตะ

2.การดำเนินเรื่อง

ละครญี่ปุ่นส่วนมากจะยึดเรื่องราวของตัวละครใดตัวละครหนึ่งเป็นหลัก แล้วมีองค์ประกอบอื่นๆ หรือตัวละครอื่นๆเข้ามา เพื่อให้คนโฟกัสกับเนื้อเรื่องได้ง่ายกว่า

Koi wa Tsuzuku yo Dokomade mo Archives - Daisuki Jdrama Plus
เรื่อง Koi wa Tsuzuku yo Dokomade mo

กรณีที่บทเด่นเท่ากัน จะเรียกว่า ダブル主演 (Double Shuen) นักแสดงที่เล่นคู่กัน เป็นเนื้อเรื่องของทั้งสองคน ไม่มีใครมากกว่าใคร

Orthros No Inu : สัมผัสเป็น สัมผัสตาย
เรื่อง Orthros no Inu

การใช้คำว่า Heroine (นางเอก) และคำว่า Hero (พระเอก)

ปัจจุบันก็มีศัพท์ที่ใช้เรียกพระเอกนางเอกบ้างแล้ว อย่างเช่นชื่อหนังเรื่อง Heroine Shikkaku นางเอกตกกระป๋อง แต่กับคำว่า Hero ในมุมมองคนญี่ปุ่นยังคงนึกถึงยอดมนุษย์อยู่ดี จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

Heroine Shikkaku (2016) เมื่อนางเอกตกกระป๋อง – my online world  โลกของคนชอบดูซีรีส์ ดูหนังรัก
Heroine Shikkaku นางเอกตกกระป๋อง

อย่างที่บอกในบล็อกนี้ยกมาเป็นเพียงหัวข้อย่อยๆ และไม่เจาะจงรายละเอียดนะคะ ใครต้องการฟังข้อมูลที่ลึกกว่านี้ ดูได้ใน YouTube ของพวกเราเลย !
อย่าลืมกด Like /Share/ Subscribe ใน YouTube เพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ ?